วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้



แบบบันทึกการเข้าฟังบรรยาย วันที่ 15 สิงหาคม 2556

Learning Log
 In Class
แบบบันทึกการเข้าฟังบรรยาย วันที่ 15 สิงหาคม 2556 ณ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับ การจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย นายบุญเรือง วุฒิพงศ์ รองผู้อำนวยการ สพป.นศ.3 ซึ่งในการเข้าฟังบรรยายในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้เกี่ยวกับ ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 และการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และยุคประชาคมอาเซียน ซึ่งข้าพเจ้าสรุปออกมาได้ดังนี้
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาในระดับก่อนอุดมศึกษา ตามมาตรา49 กล่าวไว้ว่า”บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการได้รับการศึกษา ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” มาตรา80(3) “พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกรูปแบบจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้า” 
ความหมายและคำนิยามแห่งการศึกษาที่ควรรู้
การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสาน วัฒนธรรมฯ
การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
สถานศึกษา หมายถึง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน  มหาวิทยาลัย ที่มีอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัด
การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก (สม..)
ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษา
ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายถึง บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอน และการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
หลักการศึกษาตาม พ...การศึกษาแห่งชาติ
1.เป็นการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน
2.ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3.การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ระบบการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ
1.การศึกษาในระบบ
2.การศึกษานอกระบบ
3.การศึกษาตามอัธยาศัย
แนวการจัดการศึกษา
1.ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.เน้นความสำคัญ ทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการ ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ
3.ส่งเสริมและจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
4.ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน
5.ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การแบ่งระดับ/ประเภทการศึกษาขั้นพื้นฐาน
            1.การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
            2.การศึกษาระดับประถมศึกษา
3.การศึกษาระดับมัธยมศึกษา
            3.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
            3.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
โครงสร้างการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.กระทรวงศึกษาธิการ (รมต./รมช.)
2.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ สพฐ.)
3.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.เขตพื้นที่ฯ)
4.สถานศึกษา (ผอ.สถานศึกษา)
บทบาทหน้าที่ของบุคลากรและหน่วยงานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
      โครงสร้างบุคลากรที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี, รมต./รมช., ปลัดกระทรวง, เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา, ผอ.สถานศึกษา และครูและบุคลากร
องค์คณะท่ามีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่เกิน 27 คน) มีหน้าที่ กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่บริหารงานบุคคล กำหนดหลักสูตร วิธีการสอบ
3.คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (15 คน) มีหน้าที่วิเคราะห์การจัดตั้งโรงเรียน ยุบโรงเรียน
4.คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.... 10 คน)
มีหน้าที่สอบคัดเลือกครู สอบบรรจุครู
5.คณะกรรมการการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.... 9 คน) มีหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การวัดการประเมินผลรายปี
6.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (9/15 คน)
การศึกษาภาคบังคับ
ความหมาย : การศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เด็ก : เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 จนถึงอายุย่างเข้าปีที่ 16
ผู้ปกครอง : บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งใช้อำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือผู้ที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรืออยู่รับใช้การงาน
หน่วยงาน/องค์การที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ รัฐบาล, เอกชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, บุคคล/ครอบครัว, องค์กรเอชน, องค์กรชุมชน, องค์รวิชาชีพ, สถาบันศาสนา, สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นๆ
การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และยุคประชาคมอาเซียน
วิสัยทัศน์ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”
จุดเน้น สู่การพัฒนาผู้เรียน คือ คุณภาพในตัวผู้เรียนที่มีความครอบคลุมในด้านความสามารถและทักษะ ตลอดจนคุณลักกษณะที่ช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีคุณภาพ
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
1.พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
2.พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
3.พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
4.พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่
เป้าหมายในการปฏิรูปการศึกษา
เป้าหมายที่ 1 คนไทยในการศึกษาไทยมีคุณภาพ และได้มาตรฐานระดับสากล
เป้าหมายที่ 2 คนไทยใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่านและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายที่ 3 คนไทยใฝ่ดี มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสาธารณะ
เป้าหมายที่ 4 คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
จุดร่วมของอาเซียนในการยกระดับคุณภาพการศึกษา
1.การมุ่งสู่สังคมฐานความรู้
2.ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ระดับสากล
3.การตอบสนองต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
4.ใช้การศึกษาเป็นแนวทางยกระดับศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
5.การศึกษาเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์อย่างรอบด้าน
 
 
 
 
out class:16 สิงหาคม 2556 ดิฉันได้ศึกษาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง วิธีการเขียนหลักสูตร โดยการทำดังนี้
1.            ชื่อเรื่อง
2.            ความสำคัญ
3.            จุดมุ่งหมาย
4.            วัตถุประสงค์
5.            เนื้อหาของหลักสูตร
6.            เวลาเรียน
7.            สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้
8.            กิจกรรมการเรียนรู้
9.            ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
10.    โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร
จากการที่ไดมีการศึกษาการเขียนหลักสูตร เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการทำหลักสูตรของตนเอง ว่าสมควรหรือไม่สมควรในการจัดทำหลักสูตร

 

 

 

 



 


 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น