วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้



บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน
               วันพฤหัสบดี ที่ 5 กันยายน 2556 อาจารย์วัยวุฒ อินทรวงศ์ ได้เข้าสอนในคาบเรียนในวิชา การพัฒนาหลักสูตร โดยอาจารย์ให้ศึกษาถึงองค์ประกอบของการประเมินดังนี้
องค์ประกอบของการประเมิน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต

องค์ประกอบด้านปัจจัย

1.            องค์ประกอบด้านผู้เรียน

2.            องค์ประกอบด้านครู

3.            องค์ประกอบด้านผู้ปริหารในการเรียน

4.            องค์ประกอบด้านปัจจัยสนับสนุน

  • องค์ประกอบด้านกระบวนการ

1.            องค์ประกอบด้านการบริการ

2.            องค์ประกอบด้านครู

3.            องค์ประกอบด้านนักเรียน

4.            องค์ประกอบด้านปัจจัยสนับสนุน

  • องค์ประกอบด้านผลผลิต

จากการที่อาจารย์วัยวุฒ  อินทรวงศ์ทำให้เรารู้ถึงองค์ประกอบในด้านต่างๆทั้งด้านปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต

 

 

 

 

 

 


 

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน

การประเมินหลักสูตร

 

                  การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการในการวัดและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์พิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตรว่า หลักสูตรนั้นๆ มีประสิทธิภาพแค่ไหน เมื่อนำไปใช้แล้ว บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดหรือไม่เพียงใด มีอะไรต้องแก้ไข  เพื่อนำผลมาใช้ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่ดีกว่า

 

                  จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร        (สุนีย์  ภู่พันธ์ . 2546. หน้า 250-251) 

          1. เพื่อหาคุณค่าของหลักสูตรนั้น โดยดูว่า หลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนองวัตถุประสงค์ ที่หลักสูตรนั้นต้องการหรือไม่  สนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมอย่างไร

         2. เพื่ออธิบายและพิจารณาว่าลักษณะของส่วนประกอบต่างๆ ของหลักสูตรในแง่ต่างๆ   เช่น  หลักการ  จุดมุ่งหมาย  เนื้อหาสาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผลว่าสอดคล้องต้องกันหรือไม่ หรือสนองความต้องการหรือไม่

         3. เพื่อตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้  มีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง  การประเมินผลในลักษณะนี้ มักจะดำเนินไปในช่วงที่ขณะใช้หลักสูตร

         4. เพื่อตัดสินว่า การบริหารงานด้านวิชาการและบริหารงานด้านหลักสูตร เป็นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพื่อหาทางแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ

        5. เพื่อติดตามผลผลิตจากหลักสูตร คือผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากการผ่านกระบวนการทางการศึกษามาแล้วตามหลักสูตรว่าเป็นไปตามความมุ่งหวังหรือไม่

       6. เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ในหลักสูตร

       7. เพื่อช่วยในการตัดสินว่าควรใช้หลักสูตรต่อไปหรือควรปรับปรุงพัฒนาหรือเพื่อยกเลิกการใช้หลักสูตรนั้นหมด การประเมินผลในลักษณะนี้ จะดำเนินการหลังจากที่ใช้หลักสูตรไปแล้วระยะหนึ่ง แล้วจึงประเมินเพื่อสรุปผลตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ดี บรรลุตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด  สนองความต้องการของสังคมเพียงใด เหมาะสมกับการนำไปใช้ต่อไปหรือไม่

       ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร

                 การประเมินผลหลักสูตร เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เราทราบถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร  การประเมินผลมีประโยชน์ในการจัดการศึกษา การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรต้องอาศัยผลจากการประเมินผลเป็นสำคัญ ประโยชน์ของการประเมินผลหลักสูตรมีดังนี้

                 1. ทำให้ทราบว่าหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้น มีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงให้ถูกจุด ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น

                 2. สร้างความน่าเชื่อถือ  ความมั่นใจ  และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดในหมู่ประชาชน
                3. ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ  ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุน ช่วยเหลือหรือบริการทางใดบ้าง
               4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา

               5. ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนนักเรียนได้ผลดี ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน

               6. ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน

              7. ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ  เพราะมีเครื่องมือและหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

             8. ช่วยชี้ให้เห็นคุณค่าของหลักสูตร

            9. ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้ ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและขอบเขตในการดำเนินการศึกษาของโรงเรียน

            ขั้นตอนการประเมินหลักสูตร

สุนีย์  ภู่พันธ์.  (2546)  ได้สรุปขั้นตอนการประเมินหลักสูตรไว้ ดังนี้

           1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมิน  การกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไรในส่วนใด ด้วยวัตถุประสงค์อย่างไร  เช่น ต้องการประเมินเอกสารหลักสูตรเพื่อดูว่าเอกสารหลักสูตรถูกต้อง สมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน   หรือจะประเมินการนำหลักสูตรไปใช้ในเรื่องอะไร แค่ไหน  การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินที่ชัดเจนทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้องและทำให้การประเมินหลักสูตรดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลถูกต้องเป็นที่เชื่อถือได้

               2. ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล เกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน

              3. ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เครื่องมือที่ใช้มีหลายอย่างซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพ เชื่อถือได้และมีความเที่ยงตรงสูง

             4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล ในขั้นนี้ผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้

             5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล  ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้

            6. ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน

            7. ขั นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตร

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น