วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้(พัฒนาหลักสูตร)


บันทึกการเรียนรู้ 1/8/56


บันทึกการเรียนรู้

In Class : 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

              ในคาบเรียนของวันนี้อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้อธิบายเกี่ยวกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  ๒๕๕๑โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

วิสัยทัศน์

     หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

หลักการ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้

 1.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

 2.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
          
3.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น

          4.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด        การเรียนรู้
         
5.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคั  6.เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 

          สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
         2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

          3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ    ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

            4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน

การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

                  5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์         2.  ซื่อสัตย์สุจริต

3.  มีวินัย                                   4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง                    6.  มุ่งมั่นในการทำงาน
7.  รักความเป็นไทย                  8.  มีจิตสาธารณะ

 Out Class
ดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ที่แท้จริง

แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ที่แท้จริง

                      มนุษย์จะมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และหลายครั้งของการเรียนรู้เหล่านั้นเกิดจากความไม่ได้ตั้งใจ และเกิดขึ้นภายนอกสถาบันการศึกษา นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่า มนุษย์คนนั้นเห็นว่า การเรียนรู้สิ่งใดมีประโยชน์และมีคุณค่า และการมีคุณค่าของการเรียนรู้จะขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคน กลุ่มคน เวลา และ สถาณการณ์ในการนำความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้นี้ไปใช้ ทั้งหมดทั้งสิ้น คือ กระบวนการของการศึกษา วัตถุประสงค์ของการศึกษาเรียนรู้นั้นขึ้นอยู่กับบุคคล บางคนเรียนรู้เพื่อมีชีวิตรอด (Survive) บางคนเรียนรู้เพื่อให้มีชีวิตที่เจริญก้าวหน้าขึ้น (Thrive) แต่ก็น่าเสียดายที่ว่า โอกาสที่คนจะเรียนรูและรับประสบการณ์ในการเรียนรู้นั้นไม่เพียงพอ และไม่เท่าเทียมกัน (Gordon & Rebell, 2007) หลักสูตรจะช่วยแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร

หลักปรัชญาที่ควรคำนึงในการกำหนดหลักสูตร

                               ในการร่างหลักสูตรการเรียนการสอน ควรต้องคำนึงถึงปรัชญาของโลก ของประเทศ และค่านิยมต่างๆ ความต้องการของสังคม และเป้าหมายของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปรัชญาของโลก (World Philosophy) ที่เป็นพื้นฐานในการกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา (Webb, Metha & Jordan, 2003) ได้แก่

    1. Ontology (Metaphysics): การเรียนรู้ของจริงต่างๆ ที่อยู่ในโลกและสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
  2. Epistemology:
การเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ
  3. Axiology:
การเรียนรู้ในเรื่องของความดี ความสวยงาม ค่านิยม โดยมาผสมผสานกับ Educational Domains เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่พึงประสงค์ อันได้แก่
      1. Cognitive Domain:
มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทางด้านความรู้ และสติปัญญา

    2. Affective Domain: มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดี เกิดความรักในสิ่งที่ได้เรียนรู้และการเรียนรู้

    3. Psychomotor Domain: มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะ ความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ได้เรียนรู้

 

หากเราลองเปรียบเทียบกับองค์ 4 ของการศึกษาไทย กล่าวคือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถ ศึกษา และพลศึกษา เราก็เห็นได้ว่ามีพื้นฐานที่ไม่ต่างกัน ซึ่งก็เป็นที่มาของหลักสูตรปัจจุบันที่เน้นให้ ผู้เรียนเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และเป็นผู้ที่อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นข้อสำคัญในการกำหนดหลักสูตร คือ ต้องคำนึงถึงการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและเตรียมตัวผู้เรียนที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ นอกโรงเรียนได้อย่างมีความสุข เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม Dewey (1916) เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์นอกโรงเรียน โดย Dewey ได้ระบุว่า การศึกษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท กล่าวคือ การศึกษาที่ตั้งใจให้เกิดการเรียนรู้ (Deliberate Education) และการศึกษาที่เกิดจากสถาณการณ์หรือเรียนรู้จากสิ่งอื่นๆ (Incidental Education) นักการศึกษามักจะมุ่งเน้นการจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองเพียงการศึกษาประเภทแรก และลืมนึกถึงการเตรียมผู้เรียนในการที่จะต้องพบกับสถาณการณ์ที่จะต้องเผชิญและเรียนรู้กับการศึกษาประเภทที่สอง หลักสูตรแม้จะจัดไว้สำหรับนักเรียนในระบบโรงเรียน แต่ก็ต้องเปิดกว้างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้นอกชั้นเรียนหรือนอกโรงเรียน เพราะได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้น มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระบบโรงเรียนของผู้เรียน (Anyon, 2005; Barton, 2003; Gordon, Bridglall & Meroe, 2005)

            การขยายขอบเขตของหลักสูตรละการจัดการการเรียนรู้ ควรต้องคำนึงสำหรับผู้รับผิดชอบในการออกแบบและกำหนดหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ความรับผิดชอบ (Responsibility)ในการจัดการการศึกษา และ ความคาดหวัง (Expectations) ที่ต้องได้รับการพัฒนาจนไปถึงระดับปัจเจกบุคคล เนื้อหาสาระ (Content) รวมถึงกระบวนการฝึกฝน ความมีวินัยในการเรียน และ การเรียนรู้ที่ว่าจะต้องเรียนอย่างไร วิธีสอน (Pedagogy) ที่จะต้องพัฒนาจากการฝึกฝน จนมีความรู้ความสามารถและสามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นและสิ่งรอบตัว และสถานที่

             วัตถุประสงค์ วิธีการ ความแข็งแกร่งและความสำเร็จของหลักสูตร ควรที่จะได้รับอิทธิพลมาจากบุคคลในหลากหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในสายการเมืองการปกครอง สายสังคมศาสตร์ สายเศรษฐศาสตร์ นักการศึกษาเอง หรือแม้กระทั่งบุคคลในสายการศาสนาก็ตาม (Tietelbaum, 1998) ผู้กำหนดหรือผู้ใช้หลักสูตรควรต้องได้รับคำปรึกษาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม และทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จากบุคคลตั้งแต่ ผู้ปกครอง กลุ่มชมรมหรือสมาคมในชุมชน ครู คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ข้าราชการทางการศึกษาของอำเภอและจังหวัด คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ รายงานการศึกษาต่างๆ รัฐบาลของชาติ องค์กรอาชีพต่างๆ ตลอดจนเป้าหมายและมาตรฐานของบุคคลที่พึงประสงค์ในระดับชาติ

                การกำหนดหลักสูตรที่ดี ก็จะเป็นเสมือนแสงไฟที่ส่องทางไปสู่ความสำเร็จของบุคคลที่เดิน ตามแสไฟที่ส่องนำทางนี้ แสงไฟจึงต้องส่องแสงไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาคน มิใช่ส่องไปแบบไร้ทิศทาง อย่างไรก็ตาม หลักสูตรต้องเป็นที่เข้าใจได้ (Comprehensiveness) สำหรับผู้ใช้หลักสูตร ต้องมีความเป็นเหตุเป็นผล (Cogency) มีความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพัน (Coherency) และมีความกลมกลืน (Consonance) ทั้งในส่วนของวิชาเดียวกันที่สอนในชั้นที่ต่างระดับกัน ที่เรียกว่า การกลมกลืนและเกี่ยวพันในแนวตั้ง และในส่วนของวิชาที่ต่างกัน แต่สอนในระดับเดียวกัน คือในแนวนอน รวมถึงความเกี่ยวพันกับโครงสร้างและความต้องการของสังคม เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์ของการเรียนรู้อย่างแท้จริ


 


 


 


 


 


 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น