วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้


                      Learning log
In Class :
4 กรกฎาคม พ.. 2556

            ในคาบเรียนของวันนี้อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีรายละเอียดของเนื้อหาดังต่อไปนี้
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร

            1. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
            การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ซึ่งสามารถจำแนกข้อมูลได้ดังนี้
1.1 โครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างสังคมไทยแบ่งออกเป็น 2  ลักษณะคือ 
            -
ลักษณะสังคมชนบทหรือสังคมเกษตรกรรม
            -
สังคมเมืองหรือสังคมอุตสาหกรรม
1.2 ค่านิยมในสังคม
           
ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมเดียวกันมองเห็นว่ามีคุณค่าเป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไปในสังคมนั้นๆดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษาค่านิยมต่างๆในสังคมไทย  หน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรที่จะศึกษาและเลือกค่านิยมที่ดีและสอดแทรกไว้ในหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังและสร้างค่านิยมที่ดีในสังคมไทย1.3 ธรรมชาติของคนในสังคม 
           
การพัฒนาหลักสูตรควรคำนึงถึงลักษณะธรรมชาติ  บุคลิกภาพของคนในสังคม   โดยศึกษาพิจารณาว่าลักษณะใดควรจะคงไว้ลักษณะใดควรจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่  พึงประสงค์ของสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อที่จะจัดการศึกษาในอันที่จะสร้างบุคลิกลักษณะของคนในสังคมตามที่สังคมต้องการ  เพราะหลักสูตรเป็นแนวทางในการสร้างลักษณะสังคมในอนาคต
1.4 การชี้นำสังคมในอนาคต 
           
การศึกษาควรมีบทบาทในการชี้นำสังคมในอนาคตด้วยเพราะในอดีตที่ผ่านมาระบบการศึกษา  และระบบพัฒนาหลักสูตรของไทยเป็นลักษณะของการตั้งรับมาโดยตลอด ฉะนั้นการจัดการศึกษาที่ดีควรใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศในอนาคตให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
1.5 ลักษณะสังคมตามความคาดหวัง 
           
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพในการดำรงชีวิต จรรโลงสภาพสังคมในอนาคตให้ดีขึ้นลักษะประชากรที่มีคุณภาพดีมีดังนี้
 - 
มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี
- 
มีอาชีพเพื่อเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ทำประโยชน์แก่ครอบครัว
- 
เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
- 
มีสติปัญญา หมั่นเสริมสร้างความรู้ความคิดอยู่เสมอ
- 
มีนิสัยรักการทำงาน ขยัน อดทน ประหยัด ซื่อสัตย์ภักดี
- 
มีมนุษยสัมพันธ์ และมีมนุษยธรรม
           
การจัดการศึกษาจำเป็นต้องวางแผนและดำเนินการเชิงรุก โดยการให้ความสำคัญกับการคาดการณ์ แนวโน้มอนาคตทางด้านการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษาในประเทศให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลง รวมถึงใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
1.6 ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม
            ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม เพราะฉะนั้นสิ่งที่บรรจุไว้ในหลักสูตรควรเป็นหลักธรรมในศาสนาต่างๆและควรเปรียบเทียบหลักธรรมของศาสนาเหล่านั้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่าทุกศาสนามีเป้าหมายสูงสุดร่วมกัน  คือสอนให้คนเป็นคนดีเพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม
           
สรุป การพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้เรียนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญคือ การศึกษาแนวโน้ม ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจสังคม การเมือง การศึกษา ดังนั้นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นต้องมุ่งเน้นพัฒนาทักษะการคิด และทักษะชีวิตให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต อาชีพ วัฒนธรรมสภาพแวดล้อมและทรัพยากรชุมชน ตลอดถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย วิถีไทย ให้ผู้เรียน มีความรู้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดำรงตนภายใต้ความพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมไทยเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
            2.
ปรัชญาการศึกษา
            2.1 ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) มาจากปรัชญาพื้นฐาน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตนิยมและวัตถุนิยม
            องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร ยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ

2) ครู เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากการศึกษาจะต้องมาจากครูเท่านั้น
3) ผู้เรียนหรือนักเรียนตามปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม จะต้องเป็นผู้สืบทอดค่านิยมไว้และถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลัง
4) โรงเรียน มีบทบทในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคม

5) กระบวนการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ
            2.2 ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism)มีรากฐานมาจากปรัชญา จิตนิยมและปรัชญาวัตถุนิยม ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้แบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ คือ ทัศนะในเรื่องเหตุผลและสติปัญญา และทัศนะเรื่องศาสนา
            จุดมุ่งหมายของการศึกษา  ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์เพราะมนุษย์มีพลังธรรมชาติอยู่ในตัว พลังในที่นี้คือสติปัญญา จะต้องพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
            องค์ประกอบของการศึกษา
1)
หลักสูตร กำหนดโดยผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ เป็นหลักสูตรที่เน้นวิชาทางศิลปะศาสตร์ (Liberal arts)
2)
ครู ปรัชญาการศึกษานี้มีความเชื่อว่าเด็กเป็นผู้มีเหตุผลและมีชีวิตมีวิญญาณ
3)
ผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาเป็นรายบุคคล
4)
โรงเรียน ไม่มีบทบาทต่อสังคมโดยตรง เพราะเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก
5)
กระบวนการเรียนการสอน ใช้วิธีท่องจำเนื้อหาวิชาต่าง ๆ และฝึกให้ใช้ความคิดหาเหตุผล
            2.3
ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism) ปรัชญานี้เน้นกระบวนการ โดยเฉพาะกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เมื่อนำมาใช้กับการศึกษา แนวทางของการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและภาวะแวดล้อมอยู่เสมอการศึกษาจะไม่สอนให้คนยึดมั่นในความจริง ความรู้ และค่านิยมที่คงที่ หรือสิ่งที่กำหนดไว้ตายตัว ต้องหาทางปรับปรุงการศึกษาอยู่เสมอ เพื่อนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ
            จุดมุ่งหมายของการศึกษา ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ไม่มีจุดมุ่งหมายที่ตายตัว เพราะชีวิตเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกวัตถุประสงค์ของการศึกษาก็เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแนวทางในการแก้ปัญหา
            องค์ประกอบของการศึกษา

1) หลักสูตร  ครอบคลุมชีวิตประจำวันทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
2) ครู ไม่เป็นผู้ออกคำสั่ง แต่ทำหน้าที่ในการแนะแนวทางให้แก่ผู้เรียนแล้วจัดประสบการณ์ที่ดีที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน
3) นักเรียน ปรัชญานี้ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนโดยเน้นให้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by
doing)
4) โรงเรียน ทำหน้าที่เป็นแบบจำลองสังคม
5) กระบวนการเรียนการสอน เป็นการสอนที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child centered)
            2.4 ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) มีความเชื่อว่า ความรู้ ความจริง เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความรู้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ปรัชญาพิพัฒนาการนิยมเน้นความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน
            องค์ประกอบของการศึกษา
1.หลักสูตร เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคม
2. ครูทำหน้าที่รวบรวม สรุป วิเคราะห์ปัญหาของสังคมแล้วเสนอแนวทางให้ผู้เรียนแก้ปัญหาของสังคม
3. ผู้เรียน ปรัชญานี้เชื่อว่า ผู้เรียนคือผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาสังคม
4.โรงเรียน ตามปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมโรงเรียนจะมีบทบาทต่อ
5.
กระบวนการเรียนการสอน มีลักษณะคล้ายกับปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม

สังคมโดยตรง โดยมีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม
            2.5 ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) มีความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่จริงของมนุษย์ มนุษย์จะต้องเข้าใจและรู้จักตนเอง มนุษย์ทุกคนมีความสำคัญและมีลักษณะเด่นเฉพาะตนเอง
           
จุดมุ่งหมายของการศึกษา  การศึกษาจะต้องทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตนเอง ว่ามีความต้องการอย่างไร แล้วพัฒนาตนเองไปตามความต้องการอย่างอิสระ เพื่อจะได้พัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองได้อย่างเต็มที่ด้วยการเลือกเรียนได้ตามความพอใจ และมีความรับผิดชอบในสิ่งที่เลือก
            องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร ไม่กำหนดตายตัว แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น เนื้อหาของหลักสูตรจะเน้นทางสาขามนุษยศาสตร์ (Humanities)
2) ครู มีบทบาทคล้ายกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ทำหน้าที่คอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนตื่นตัว
3) ผู้เรียน ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากที่สุด ให้ผู้เรียนรู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง
4) โรงเรียน ต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียน
5) กระบวนการเรียนการสอน เน้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ให้ผู้เรียนพบความเป็นจริงด้วยตัวเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนด้วยตนเอง กระบวนการเรียนการสอนจะเน้นการมีส่วนร่วมเป็นหลักสำคัญในการเรียนรู้
           
3. ด้านการเมืองการปกครอง
            มโนทัศน์สำคัญ

            ข้อมูลพื้นฐานเป็นข้อมูลในด้านต่างๆที่จำเป็น ซึ่งนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาวิเคราะห์และใช้ประกอบการพิจารณาในการสร้างหรือจัดทำหลักสูตรในทุกองค์ประกอบของหลักสูตร  อันได้แก่  ข้อมูลทางสังคม  วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  การเมืองการปกครอง
           
การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเป็นขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร  ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในขั้นตอนต่างๆตั้งแต่กระบวนการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร กระบวนการกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้  กระบวนการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนและกระบวนการประเมินผล  เพื่อให้ได้หลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม   เพราะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรระดับต่างๆในอนาคตจะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานในเรื่องต่างๆจากหลายๆแห่งและจากบุคคลหลายๆฝ่าย  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงมาพัฒนาหลักสูตร        นโยบายของรัฐ
            เนื่องจากการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมจึงมีความจำเป็นต้องสอดคล้องกับระบบอื่นๆ ในสังคม นโยบายของรัฐที่เห็นได้ชัด คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แผนพัฒนาการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรควรจะได้พิจารณานโยบายของรัฐด้วย เพื่อที่จะได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกัน
            รากฐานของประชาธิปไตย
            จากการที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 หลักสูตรในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาคนควรที่จะได้วางรากฐานที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยให้แก่สังคม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอันถูกต้อง
  กล่าวโดยสรุปคือสามารถใช้หลัดสูตรเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคมใหม่ในทิศทางที่ถูกต้องได้  การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษา  วิเคราะห์  สำรวจ  วิจัย  สภาพพื้นฐานด้านต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้สนับสนุน  อ้างอิงในการตัดสินใจดำเนินการต่างๆเพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดี  สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ  และทัศนะคติที่จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้

           
4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

         กระดานอัจฉริยะกระดานอัจฉริยะนั้นเปรียบเสมือนจอรับภาพขนาดใหญ่ซึ่งสามารถที่จะสัมผัสได้โดยตรงที่ตัวกระดานอัจฉริยะได้เลยนั้นเอง การทำงานจะคล้าย ๆ กับโทรศัพท์ระบบสัมผัส (I-phone) ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่ากระดานอัจฉริยะนั้นได้มีการนำเข้ามาใช้งานกันอย่างแพร่หลายแล้ว  ใช้ปากกาเฉพาะในการเขียนหรือสัมผัส สามารถเขียนได้พร้อมกันมากกว่า 2 คน มีซอฟแวร์สื่อการเรียนการสอน พร้อมซอฟแวร์กระดาน มีโปรแกรมช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนมากมาย เช่น สร้างหน้ากระดาษขาว, ปากกาเขียนรูปแบบต่างๆ,คลังภาพเคลื่อนไหว, บันทึกวีดีโอ
           
เทคโนโลยีก่อประโยชน์แก่ระบบการศึกษามากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาสามารถเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดภาระทางด้านการบริหารของครูและยังทำหน้าที่แทนครูในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือข่าวสารประจำวันต่าง ๆ                                                          เทคโนโลยีทำให้การสอนมีพลังยิ่งขึ้น ระบบการสื่อสารในปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเรา ดังนั้นสื่อการสอนในยุคใหม่นี้จึงสามารถจำลองสถานการณ์จริง ช่วยร่นระยะทางและเหตุการณ์ที่อยู่คนซีกโลกมาสู่นักเรียนได้
           
เทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดความเสมอภาคของการศึกษามากขึ้น ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ทุกหนแห่ง เทคโนโลยีพร้อมที่จะหยิบยื่นความรู้ให้แก่ทุกคนเสมอ
           
5. แนวความคิดจิตวิทยา
            แนวความคิดจิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนความคิด และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
            โครงสร้างของจิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ,
 2. เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่
            ความมุ่งหมายและประโยชน์
1. จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
2. ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก                                                             
3. ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
4. ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม

            ผลการเรียนรู้ของจอห์น ดิวอี้
            การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้ในแบบ Learning by doing ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ แนวคิดนี้จะจัดการสอนแบบโครงการเป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนจากการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง
            ผลการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีประสบการณ์ของจอห์น ดิวอี้
1. ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และสื่อที่เร้าความสนใจ
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพด้วยการศึกษา
3. กิจกรรมกลุ่มช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ เกิดกระบวนการทำงาน เช่น มีการวางแผนการทำงาน มีความรับผิดชอบ
4. ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจากการร่วมกิจกรรมและการค้นหาคำตอบจากประเด็นคำถามของผู้สอนและเพื่อน ๆ
5. ทุกขั้นตอนการจัดกิจกรรม จะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามไว้ในตนเองอยู่ตลอดเวลา                                                        

6. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน โดยให้แต่ละคนเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตน มุ่งให้ผู้เรียนแข่งขันกับตนเองและไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป  
            ผลการเรียนรู้ของวิลเลียม เจมส์
1. มีกระบวนการพิสูจน์ ความจริง พิสูจน์ให้เห็นจริง สามารถอธิบายได้ และก่อให้เกิดผลหรือ ประโยชน์ในประสบการณ์ของเรา
2. มีกระบวนการนำทาง ความคิดที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์แล้ว จะต้องสามารถเชื่อมโยงไปอธิบายเรื่องอื่นได้
            6. การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic development)
       Economic Development และ Economic Growth แตกต่างกันอย่างไร?

¢ Economic Development คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม

¢  Economic Growth คือ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเท่านั้น

ดังนั้น *** การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจความหมาย
                  การทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ
 
           ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
                กระบวนการที่ทำให้รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคล (
Real Per Capita Income) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการกระจายรายได้เป็นธรรม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
          การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
              
การเพิ่มขึ้นของผลผลิต/รายได้ต่อบุคคลที่แท้จริง
         เครื่องบ่งชี้ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ

             การเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชาติที่แท้จริงต่อบุคคล

             อัตราค่าจ้างแรงงาน

             อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากร

             อัตราการรู้หนังสือ

             อัตราการรู้หนังสือ

             อัตราการเพิ่มของพลเมือง

    ลักษณะของประเทศกำลังพัฒนา

        ประชากรส่วนใหญ่มีมาตรฐานการครองชีพต่ำ

         มีอัตราการขยายตัวของประชากรสูง

         ขาดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

         ขาดแคลนเงินออม

         สภาพสังคมไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา

         ต้องพึ่งพาและถูกครอบงำจากต่างประเทศ

   ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา

        ทรัพยากรมนุษย์

        ทรัพยากรธรรมชาติ

        การสะสมทุน

        ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

     กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจ

        การเติบโตแบบสมดุล

        การเติบโตแบบไม่สมดุล

        ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า

        พัฒนาระหว่างสาขาการผลิต 

   เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ

        เพื่อทำให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้น

        เพื่อลดอัตราการว่างงาน,เงินเฟ้อ/ฝืด

        ดุลการชำระเงินสมดุล

        การกระจายรายได้เป็นธรรม

        พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

            เป็นการกำหนดแนวทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม  โดยกำหนดออกมาในรูปแบบของเอกสารที่เรียกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
            จัดทำโดย  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : สศช.   เริ่มจัดทำครั้งแรกเมื่อ พ.ศ 2504

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)

·       เป็นแผนที่อัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการพัฒนา

·       ยึดหลักทางสายกลางสามารถพึ่งตนเองได้และนำไปสู่การ พัฒนาที่ยั่งยืน

·       คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา

 

Out    class : วันที่ 6  กรกฏาคม  .. 2556

           ดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ที่แท้จริง ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

                      มนุษย์จะมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และหลายครั้งของการเรียนรู้เหล่านั้นเกิดจากความไม่ได้ตั้งใจ และเกิดขึ้นภายนอกสถาบันการศึกษา นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่า มนุษย์คนนั้นเห็นว่า การเรียนรู้สิ่งใดมีประโยชน์และมีคุณค่า และการมีคุณค่าของการเรียนรู้จะขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคน กลุ่มคน เวลา และ สถาณการณ์ในการนำความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้นี้ไปใช้ ทั้งหมดทั้งสิ้น คือ กระบวนการของการศึกษา วัตถุประสงค์ของการศึกษาเรียนรู้นั้นขึ้นอยู่กับบุคคล บางคนเรียนรู้เพื่อมีชีวิตรอด (Survive) บางคนเรียนรู้เพื่อให้มีชีวิตที่เจริญก้าวหน้าขึ้น (Thrive) แต่ก็น่าเสียดายที่ว่า โอกาสที่คนจะเรียนรู้และรับประสบการณ์ในการเรียนรู้นั้นไม่เพียงพอ และไม่เท่าเทียมกัน (Gordon & Rebell, 2007) หลักสูตรจะช่วยแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร

หลักปรัชญาที่ควรคำนึงในการกำหนดหลักสูตร

                               ในการร่างหลักสูตรการเรียนการสอน ควรต้องคำนึงถึงปรัชญาของโลก ของประเทศ และค่านิยมต่างๆ ความต้องการของสังคม และเป้าหมายของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปรัชญาของโลก (World Philosophy) ที่เป็นพื้นฐานในการกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา (Webb, Metha & Jordan, 2003) ได้แก่

    1. Ontology (Metaphysics): การเรียนรู้ของจริงต่างๆ ที่อยู่ในโลกและสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า

    2. Epistemology: การเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ

    3. Axiology: การเรียนรู้ในเรื่องของความดี ความสวยงาม ค่านิยม โดยมาผสมผสานกับ Educational Domains เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่พึงประสงค์ อันได้แก่

    1. Cognitive Domain: มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทางด้านความรู้ และสติปัญญา

    2. Affective Domain: มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดี เกิดความรักในสิ่งที่ได้เรียนรู้และการเรียนรู้

    3. Psychomotor Domain: มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะ ความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ได้เรียนรู้

            หากเราลองเปรียบเทียบกับองค์ 4 ของการศึกษาไทย กล่าวคือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถ ศึกษา และพลศึกษา เราก็เห็นได้ว่ามีพื้นฐานที่ไม่ต่างกัน ซึ่งก็เป็นที่มาของหลักสูตรปัจจุบันที่เน้นให้ ผู้เรียนเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และเป็นผู้ที่อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นข้อสำคัญในการกำหนดหลักสูตร คือ ต้องคำนึงถึงการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและเตรียมตัวผู้เรียนที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ นอกโรงเรียนได้อย่างมีความสุข เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม Dewey (1916) เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์นอกโรงเรียน โดย Dewey ได้ระบุว่า การศึกษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท กล่าวคือ การศึกษาที่ตั้งใจให้เกิดการเรียนรู้ (Deliberate Education) และการศึกษาที่เกิดจากสถาณการณ์หรือเรียนรู้จากสิ่งอื่นๆ (Incidental Education) นักการศึกษามักจะมุ่งเน้นการจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองเพียงการศึกษาประเภทแรก และลืมนึกถึงการเตรียมผู้เรียนในการที่จะต้องพบกับสถาณการณ์ที่จะต้องเผชิญและเรียนรู้กับการศึกษาประเภทที่สอง หลักสูตรแม้จะจัดไว้สำหรับนักเรียนในระบบโรงเรียน แต่ก็ต้องเปิดกว้างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้นอกชั้นเรียนหรือนอกโรงเรียน เพราะได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้น มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระบบโรงเรียนของผู้เรียน (Anyon, 2005; Barton, 2003; Gordon, Bridglall & Meroe, 2005)

            การขยายขอบเขตของหลักสูตรละการจัดการการเรียนรู้ ควรต้องคำนึงสำหรับผู้รับผิดชอบในการออกแบบและกำหนดหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ความรับผิดชอบ (Responsibility)ในการจัดการการศึกษา และ ความคาดหวัง (Expectations) ที่ต้องได้รับการพัฒนาจนไปถึงระดับปัจเจกบุคคล เนื้อหาสาระ (Content) รวมถึงกระบวนการฝึกฝน ความมีวินัยในการเรียน และ การเรียนรู้ที่ว่าจะต้องเรียนอย่างไร วิธีสอน (Pedagogy) ที่จะต้องพัฒนาจากการฝึกฝน จนมีความรู้ความสามารถและสามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นและสิ่งรอบตัว และสถานที่

             วัตถุประสงค์ วิธีการ ความแข็งแกร่งและความสำเร็จของหลักสูตร ควรที่จะได้รับอิทธิพลมาจากบุคคลในหลากหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในสายการเมืองการปกครอง สายสังคมศาสตร์ สายเศรษฐศาสตร์ นักการศึกษาเอง หรือแม้กระทั่งบุคคลในสายการศาสนาก็ตาม (Tietelbaum, 1998) ผู้กำหนดหรือผู้ใช้หลักสูตรควรต้องได้รับคำปรึกษาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม และทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จากบุคคลตั้งแต่ ผู้ปกครอง กลุ่มชมรมหรือสมาคมในชุมชน ครู คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ข้าราชการทางการศึกษาของอำเภอและจังหวัด คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ รายงานการศึกษาต่างๆ รัฐบาลของชาติ องค์กรอาชีพต่างๆ ตลอดจนเป้าหมายและมาตรฐานของบุคคลที่พึงประสงค์ในระดับชาติ

                การกำหนดหลักสูตรที่ดี ก็จะเป็นเสมือนแสงไฟที่ส่องทางไปสู่ความสำเร็จของบุคคลที่เดิน ตามแสไฟที่ส่องนำทางนี้ แสงไฟจึงต้องส่องแสงไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาคน มิใช่ส่องไปแบบไร้ทิศทาง อย่างไรก็ตาม หลักสูตรต้องเป็นที่เข้าใจได้ (Comprehensiveness) สำหรับผู้ใช้หลักสูตร ต้องมีความเป็นเหตุเป็นผล (Cogency) มีความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพัน (Coherency) และมีความกลมกลืน (Consonance) ทั้งในส่วนของวิชาเดียวกันที่สอนในชั้นที่ต่างระดับกัน ที่เรียกว่า การกลมกลืนและเกี่ยวพันในแนวตั้ง และในส่วนของวิชาที่ต่างกัน แต่สอนในระดับเดียวกัน คือในแนวนอน รวมถึงความเกี่ยวพันกับโครงสร้างและความต้องการของสังคม เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์ของการเรียนรู้อย่างแท้จริงในชีวิตประจำวัน


           





                       

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น