วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การบันทึกในชั้นเรียน

Learning Log
In class :           วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556
                    ในคาบเรียนของวันนี้ อาจารย์วัยวุฒ ได้อธิบายเกี่ยวกับหลักสูตรที่ดี จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ขอบข่ายของจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่ดีและความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งรายละเอียดดังต่อไปนี้
              หลักสูตรที่ดี
1. สามารถปรับปรุง/ยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสภาพต่างๆที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนการสอนได้บรรลุความมุ่งหมายที่กำหนดไว้
3. ได้รับการจัดทำ/พัฒนาจากคณะบุคคล อย่างมีส่วนร่วม
4. จัดได้ตามความมุ่งหมายของการศึกษาแห่งชาติ
5. มีกิจกรรมกระบวนการ/เนื้อหาสาระบริบูรณ์ เพียงพอที่จะช่วยให้ผู้เรียนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็นและพัฒนาผู้เรียนได้ทุกๆด้าน
6. บอกแนวทางด้านสื่อการสอน การใช้สื่อ การวัดและประเมินผลไว้อย่างชัดเจน
7. สนองความต้องการและความสนใจ ทั้งของนักเรียนและสังคม
8. ส่งเสริมความเจริญงอกงามในตัวผู้เรียนทุกด้าน
9.ชี้แนะแนวทางให้ผู้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
10. จัดทำมาจัดการศึกษาข้อมูลพื้นฐานอย่างรอบคอบ
11. ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
12. เนื้อหาสาระและประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับสภาพการดำรงชีวิตของผู้เรียน ประสบการณ์ต้องเป็นสิ่งใกล้ตัว และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
13. มีการประเมินผลตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อทราบข้อบกพร่องและสามารถนำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
14. มีแนวทางให้นักเรียนมีแนวทางเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและลำดับอย่างเหมาะสม
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
           ประโยชน์ของจุดมุ่งหมาย
- แนวทางจัดสาระการเรียนรู้
- แนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้
- ผู้เรียนทราบว่าเขาจะเรียนรู้อะไรบ้าง
-แนวทางกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล
-แนวทางในการบริหารโรงเรียน
              ขอบข่ายของจุดมุ่งหมาย
 -พุทธพิสัย (Cognitive Domain)
-ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
-จิตพิสัย (Affective Domain)
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่ดี
 - สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา
 - ตั้งอยู่บนฐานความจริงและนำไปปฏิบัติได้
 - สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ
 - ส่งเสริมพัฒนาการเรียนบุคคลและครอบคลุมทุกด้าน
- ความชัดเจนไม่คลุมเครือและไม่ขัดแย้งกันในแต่ละข้อ
 - ควรจะยืดหยุ่น
       
ความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ
3. การเมืองการปกครอง
4. แนวความคิดและผลการศึกษาค้นคว้าทางด้านจิตวิทยา
5. ความก้าวหน้าทางวิทยากร เทคโนโลยี
            ท้ายคาบอาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาไปหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้
            1. Curriculum development
            2. Curriculum planning
            3. Curriculum construction
            4. Curriculum lmprovemen
            5. Curriculum revision
Out Class : วันที่ 29 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2556
          ดิฉันได้ศึกษานอกชั้นเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
การพัฒนาเศรษฐกิจ
           การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญมากกับทุกๆ ประเทศในโลก ไม่ว่าประเทศนั้นจะมีระดับของการพัฒนาอยู่ในระดับใดก็ตาม (สูง ปานกลาง หรือต่ำ) สำหรับประเทศไทยซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาในระดับ ปานกลาง (ประเทศกำลังพัฒนา) ก็เช่นเดียวกันยังจำเป็นต้องปรับสภาพของเศรษฐกิจและสังคมเพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สำหรับในบทนี้เราจะมาศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลการพัฒนาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบัน
ความหมายและความสำคัญ       
         การพัฒนาเศรษฐกิจ (economic development) หมายถึงการทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ
       ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้มีความเจริญทัดเทียมกับประเทศที่มีการพัฒนาระดับสูงหรือประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆพอสรุปได้ดังนี้
ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น โดยปกติประเทศด้อยพัฒนาจะมีรายได้ ที่แท้จริงต่อบุคคลต่ำ มีอัตราเพิ่มของผลผลิตและรายได้ประชาชาติในอัตราต่ำ ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอัตราการเพิ่มสูง ดังนั้นหากไม่มีการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้อยพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้วมากขึ้น ขณะเดียวกัน ในประเทศด้อยพัฒนาเองก็มีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจน หากไม่มีการแก้ปัญหาเหล่านี้จะทำให้ประชาชนในประเทศขาดความสามัคคี ดังนั้นประเทศด้อยพัฒนาจึงพยายามพัฒนาเศรษฐกิจให้ประชาชนของประเทศมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น ทั้งนี้ เพราะมีความเชื่อว่าเมื่อฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ (ประชาชน) ดีขึ้นแล้ว มาตรถือฐานการดำรงชีพของประชาชนก็จะสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนต่างๆในสังคมอีกด้วย
ทำให้ประเทศสามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจนอกจากจะมีผลทำให้ฐานะของประชาชนในประเทศดีขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้ความมั่นคงของฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นด้วย ทำให้ประเทศชาติมีเงินทุนในการทำนุบำรุงประเทศ ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณูปโภค และการป้องกันประเทศ ซึ่งทำให้ประเทศมีเสถียรภาพทางการเมือง และเศรษฐกิจ
ช่วยเหลือเศรษฐกิจของโลก ตามปกติประเทศพัฒนาจะมีบทบาทในการช่วยเหลือทางการค้ากับประเทศด้อยพัฒนาในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเงินทุน เทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อให้ประเทศด้อยพัฒนามีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในอนาคต หากประสบความสำเร็จจะทำให้ประเทศมีรายได้ที่แท้จริงต่อหัวของประชาชนสูงขึ้น เมื่อรายได้ของประชาชนสูงขึ้นย่อมมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคมากขึ้นทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ทำให้การค้าของโลกขยายตัว โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วจะสามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโลก
        



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น