วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21
              ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาภายใต้ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ( พ.ศ. 2552 – 2561       การศึกษากับการพัฒนาสังคมเป็นกระแสหลักสำคัญที่สังคมโดยรวมต่างเฝ้าจับตามองในกระบวนทัศน์ของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในมิติต่างๆที่ส่งผลต่อการพัฒนา ซึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สองในปัจจุบันได้มุ่งเน้นในมิติของการพัฒนา 4 มิติสำคัญ  ได้แก่   1.การปฏิรูปนักเรียนยุคใหม่    2. การปฏิรูปครูยุคใหม่    3.การปฏิรูปโรงเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่     4.การปฏิรูประบบบริหารจัดการยุคใหม่
                     ซึ่งในทุกมิตินั้นจะมีความสอดรับสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุผลของการปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่สอง ( พ.ศ. 2552 – 2561 )    สำหรับการปฏิรูปเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่นั้น ได้มีข้อเสนอแนะในเชิงยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษาหลากหลายแนวทางตามข้อเสนอของคณะกรรมการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการที่ได้เสนอแนะไว้ทั้งนี้เพื่อสร้างให้ครูยุคใหม่มีบทบาทในการเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า มีระบบ กระบวนการผลิตและพัฒนาครู   คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง สามารถดึงดูดคนเก่ง คนดี  มีใจรักในวิชาชีพครูมาเป็นครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอตามเกณฑ์และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน และในขณะขณะเดียวกันสามารถพัฒนาตนเอง และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง  มีสภาวิชาชีพที่เข้มแข็ง บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในอาชีพ มีขวัญกำลังใจอยู่ได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาวิชาชีพครูภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมในช่วงเวลานี้นับได้ว่าเป็นบทบาทและภารกิจสำคัญที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดศักยภาพและประสิทธิภาพสูงสุดของศาสตร์แห่งวิชาชีพความเป็นครู ทั้งนี้คงสืบเนื่องมาจากสภาพทางบริบทรอบด้านที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโดยเฉพาะในด้านการจัดการศึกษาของยุคปฏิรูปในทศวรรษที่สองนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งมีดัชนีบ่งชี้ ( Indicators ) หลายประการที่บ่งบอกและสะท้อนผลให้ทราบทั้งที่เป็นภาพในเชิงบวกบวกและลบควบคู่กันไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลลัพธ์ ( Output )ที่เกิดกับผลผลิตของกระบวนการจัดการศึกษาซึ่งก็หมายถึงผู้เรียนนั่นเองที่เป็นสิ่งบ่งบอกหรือเป็นสัญญาณของการสะท้อนภาพดังกล่าวออกมาสู่สังคมจากกระแสของการปฏิรูปการศึกษาของไทยในปัจจุบัน ผลที่เกิดขึ้นย่อมเป็นการตอบโจทย์สำคัญที่สังคม โดยรวมต่างมุ่งเป้าหมายกลุ่มใหญ่ไปที่ “ครูอาจารย์” ในด้านประสิทธิภาพและศักยภาพของการจัดการเรียน การสอนให้กับผู้เรียน โดยมิอาจหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธความรับผิดชอบเหล่านี้ได้
ดังนั้นมาตรการและแนวทางของการยกระดับการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของวิชาชีพแห่งความเป็นครูจึงถูกกำหนดขึ้นในหลากหลายกลยุทธ์เพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดสมรรถนะเชิงวิชาชีพในระดับต่างๆจะเป็นประเด็นสำคัญของการสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาศาสตร์แห่งความเป็นครูให้บรรลุผล สอดรับกับสถานการณ์และบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ก้าวไปในสังคมแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีบทความนี้ผู้เขียนขอน าเสนอการพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพแห่งความเป็นครู ซึ่งเป็นข้อเสนอและแนวทางในอีกรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างมโนทัศน์พื้นฐาน ( Fundamental Concepts ) ต่อการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้บรรลุผลความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปครูยุคใหม่ภายใต้กระแสทรรศน์ของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองนี้
สมรรถนะวิชาชีพครู : ความหมายและความสำคัญ
ในกระแสของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่ไหลบ่าข้ามพรมแดนมาถึงกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้รูปแบบการเรียนรู้และวิธีแสวงหาความรู้มีการปรับเปลี่ยนไปจากระบบการศึกษาในรูปแบบดั้งเดิมที่มีครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนฝ่ายเดียว ไปสู่รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองที่นักเรียนสามารถแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งท้าทายครูยุคใหม่ในการจัดองค์ความรู้ให้บังเกิดผลต่อการพัฒนาผู้เรียน ดังนั้นครูจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานหรือกิจกรรมวิชาชีพครูได้อย่างมี ประสิทธิภาพตามความคาดหวังขององค์การทั้งระดับโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการ มีการให้นิยามความหมายของคำว่า “สมรรถนะ ( Competency )” ไว้ว่า หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากความรู้ ( Knowledge ) ทักษะ ( Skill ) ความสามารถ ( Ability ) และคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Other Characteristics ) ที่ทำให้บุคคลปฏิบัติงานได้สำเร็จและบรรลุผลสัมฤทธิ์ขององค์การ หรืออาจกล่าวสรุปได้ว่า
สมรรถนะ หมายถึงบุคลิกลักษณะที่ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด และสามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบได้ดีกว่าผู้อื่น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สมรรถนะหมายถึง พฤติกรรมการปฏิบัติงานซึ่งเป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถและพฤติกรรมอื่นๆที่ทำให้สามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานในองค์กร ดังนั้นสมรรถนะครูจึงหมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะของครูที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพครูให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ สมรรถนะครูจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานวิชาชีพครูให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการขององค์การทางการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษาในสภาพการณ์ทางการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมาพบว่าการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูยังเป็นสิ่งที่ต้องมีการพัฒนาค่อนข้างมาก กล่าวกันว่าการพัฒนาครูนั้นนอกจากจะพิจารณาบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงแล้วจะต้องมีการพัฒนาสมรรถนะครูด้วย สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ครูจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น แต่การพัฒนาครูที่ผ่านมาประเทศไทยยังประสบปัญหาในด้านการพัฒนาครูบางประการจากผลการศึกษาวิจัยที่ยืนยันว่าการพัฒนาครูยังขาดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพเพราะงบประมาณจำกัด ไม่ตรงกับความต้องการของครู และขาดการติดตามประเมินผลการพัฒนา และยังพบว่าการพัฒนาครูในปัจจุบันยังไม่มีเอกภาพด้านนโยบายและมาตรฐานที่ชัดเจน แม้ว่าหน่วยงานต่างๆจะจัดโครงการพัฒนาครูเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังซ้ำซ้อน ไม่เป็นระบบ ขาดประสิทธิภาพและขาดความต่อเนื่อง พบว่าส่วนใหญ่หน่วยงานกลางเป็นผู้จัด วิธีการส่วนใหญ่ใช้การอบรม บรรยาย ประชุมกลุ่มย่อยและสรุปความคิดเห็นต่อที่ประชุมใหญ่ อีกทั้งมีผู้เข้าประชุมค่อนข้างมาก และที่สำคัญคือครูต้องละทิ้งการสอนเข้ามารับการอบรมจึงค่าใช้จ่ายสูงและไม่สามารถติดตามผลการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่เห็นผลการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาของโรงเรียนได้ตรงประเด็นดังนั้นเพื่อเป็นการแสวงหามาตรการและแนวทางใหม่ในการพัฒนาครูที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับยุคสมัยของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะทำให้ครูสามารถนำผู้เรียนไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ นำโรงเรียนไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม แสวงหาแนวทางใหม่ในการพัฒนาครูที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับงบประมาณการลงทุนเพื่อมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาโดยต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาครูเป็นประการสำคัญ จากการกำหนดเป็นสมรรถนะเชิงวิชาชีพเป็นฐานการพัฒนา ( Competency-Based )
สมรรถนะวิชาชีพครูไทย : การพัฒนาสู่สังคมยุคใหม่
           การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูภายใต้สังคมแห่งยุคโลกาภิวัตน์หรือ The Globalization นั้นได้มีการศึกษาวิจัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูในหลายหน่วยงาน ในที่นี้ขอน าเสนอบทสรุปการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้พัฒนาสมรรถนะและตัวบ่งชี้ของครูไทย โดยแบ่งออกเป็นสมรรถนะหลัก ( Core Competency ) ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ และสมรรถนะประจำสายงาน (
Functional Competency ) ประกอบด้วย 6 สมรรถนะ ดังนี้
สมรรถนะหลัก ( Core Competency ) ได้แก่
1). การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
2). การบริการที่ดี
3). การพัฒนาตนเอง
4). การท างานเป็นทีม
5). จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
สมรรถนะที่ 1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ( Working Achievement Motivation )หมายถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยมีการวางแผน กำหนดเป้าหมาย ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพและผลงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. ความสามารถในการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย การวิเคราะห์สังเคราะห์
ภารกิจงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
ตัวบ่งชี้ที่ 3. ความสามารถในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 4. ความสามารถในการพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
สมรรถนะที่ 2. การบริการที่ดี ( Service Mind ) หมายถึงความตั้งใจและความเต็มใจในการ
ให้บริการ และการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของ
ผู้รับบริการ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. ความตั้งใจและเต็มใจในการให้บริการ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ
สมรรถนะที่ 3. การพัฒนาตนเอง ( Self Development ) หมายถึงการศึกษาค้นคว้าหาความรู้
ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆทางวิชาการและวิชาชีพ มีการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม
เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ติดตามองค์ความรู้ใหม่ๆทางวิชาการและวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย
สมรรถนะที่ 4. การท างานเป็นทีม ( Team Work ) หมายถึงการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ
สนับสนุน เสริมแรงให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นหรือทีมงาน แสดงบทบาทของการเป็น
ผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสมในการท างานร่วมกับผู้อื่น เพื่อสร้างและดำรงสัมพันธภาพของสมาชิกตลอดจน
เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การให้ความร่วมมือช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การเสริมแรงให้กำลังใจเพื่อร่วมงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่หลากหลาย
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตาม
ตัวบ่งชี้ที่ 5. การเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จ
ตามเป้าหมาย
สมรรถนะที่ 5. จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ( Teacher’s Ethics and Integrity )
หมายถึงการประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู เป็นแบบอย่างทีดี
แก่ผู้เรียนและสังคม เพื่อสร้างความศรัทธาในวิชาชีพครู ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. มีวินัยและความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การดำรงชีวิตที่เหมาะสม
สมรรถนะประจำสายงาน ( Functional Competency ) ประกอบด้วย 6 สมรรถนะคือ
1). การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
2). การพัฒนาผู้เรียน
3). การบริหารจัดการชั้นเรียน
4). การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
5). ภาวะผู้นำครู
6). การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน
สมรรถนะที่ 1. การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ( Curriculum and Learning Management ) หมายถึงความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการเรียนรู้อย่างสอดคล้องและเป็นระบบ จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การสร้างและพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตร
แกนกลางและท้องถิ่น
ตัวบ่งชี้ที่ 2. ความรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 5. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สมรรถนะที่ 2. การพัฒนาผู้เรียน ( Student Development ) หมายถึงความสามารถในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิต ความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทย การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การพัฒนาทักษะชีวิตและสุขภาพกาย สุขภาพจิตผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทยให้แก่ผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
สมรรถนะที่ 3. การบริหารจัดการชั้นเรียน ( Classroom Management ) หมายถึง การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา การกำกับดูแลชั้นเรียน/รายวิชา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุข และความปลอดภัยของผู้เรียน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ความสุขและความปลอดภัยของผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. จัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา
ตัวบ่งชี้ที่ 3. กำกับดูแลชั้นเรียนรายชั้น / รายวิชา
สมรรถนะที่ 4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ( Analysis & Synthesis & Classroom Research ) หมายถึง ความสามารถในการทำความเข้าใจ แยกประเด็นเป็นส่วนย่อย รวบรวม ประมวลหาข้อสรุปอย่างเป็นระบบและนำไปใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งสามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานในภาพรวมและดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนางานอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การวิเคราะห์รายการพฤติกรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสังเคราะห์รายการพฤติกรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
สมรรถนะที่ 5. ภาวะผู้นำครู ( Teacher Leadership ) หมายถึงคุณลักษณะและพฤติกรรมของครูที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ส่วนบุคคล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนโดยปราศจากการใช้อิทธิพลของผู้บริหารสถานศึกษา ก่อให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. วุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครู ( Adult Development )
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสนทนาอย่างสร้างสรรค์ ( Dialogue )
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การเป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง ( Change Agency )
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง ( Reflective Practice )
ตัวบ่งชี้ที่ 5. การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ( Concern for Improving Pupil Achievement )
สมรรถนะที่ 6. การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ ( Relationship & Collaborative-Building for Learning Management ) หมายถึง การประสานความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างเครือข่ายกับผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กรอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อจัดการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้
กล่าวโดยรวมว่าสมรรถนะหลัก ( Core Competency ) 5 สมรรถนะ และสมรรถนะประจำสายงาน ( Functional Competency ) 6 สมรรถนะที่กล่าวมานั้น เป็นปัจจัยสำคัญของการนำไปกำหนดเป็นกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพวิชาชีพครูที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบท ( Context ) และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน เป็นไปตามเป้าหมายในการพัฒนาครูยุคใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองที่ได้กำหนดไว้เป็นวาระสำคัญในวงการศึกษาไทยแนวคิดในการสร้างสมรรถนะเชิงวิชาชีพของครูไทยยุคใหม่นั้น ขอน าเสนอตัวแบบแนวคิดของภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้าง Competency ดังกล่าว ทั้งนี้โดยองค์กรมีการกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ ( Vision ) และภารกิจ ( Mission ) ขององค์กรเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน ( Strategies )ที่จะนำไปสู่การสร้างคุณค่า ( Value ) และวัฒนธรรมองค์กร( Culture )ให้บังเกิดขึ้น ภายใต้กระบวนงานตามสมรรถนะหลัก ( Core Competency ) และสมรรถนะประจำสายงาน ( Functional Competency ) ที่กำหนดไว้ตัวแบบ ( Model ) ของการสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูที่มีประสิทธิภาพดังที่กล่าวในเบื้องต้นนั้น อาจสรุปให้เห็นดังภาพต่อไปนี้

การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพมุ่งสู่การปฏิรูปหลักสูตรใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ( พ.ศ. 2552-2561 ) นั้น “หลักสูตร”จะเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาการเรียนรู้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูป 4 ประเด็นหลักของการจัดการศึกษานอกจากจะมุ่งหวังให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในปี 2561 แล้ว ยังมีประเด็นสำคัญอีกหลายประเด็นที่จะเป็นตัวแปรสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของคนในชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสังคมให้มีความพร้อมต่อการก้าวสู่ความเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือที่เรียกว่า ASEAN Community ปัจจัยสำคัญหนึ่งของการสร้างความพร้อมให้กับทรัพยากรบุคคลก็คือการให้การศึกษาที่มีคุณภาพภายใต้การใช้หลักสูตร ( Curriculum ) ในการจัดการเรียนรู้นั่นเอง ดังนั้นหลักสูตรจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งที่จะสร้างทรัพยากรบุคคลให้ก้าวไปในเวทีโลกและในสังคม ASEAN ได้อย่างเหมาะสมและมีศักดิ์ศรีในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( Basic Education Curriculum ) ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก็เช่นเดียวกัน ได้มีกระแสการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ซึ่งก็มีกระแสการวิพากษ์วิจารณ์กรณีการปรับแก้รื้อถอนเพื่อสร้างหลักสูตรขั้นพื้นฐานขึ้นมาใหม่จากหลากหลายทรรศนะมุมมองที่แตกต่างกันไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น