วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21
              ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาภายใต้ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ( พ.ศ. 2552 – 2561       การศึกษากับการพัฒนาสังคมเป็นกระแสหลักสำคัญที่สังคมโดยรวมต่างเฝ้าจับตามองในกระบวนทัศน์ของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในมิติต่างๆที่ส่งผลต่อการพัฒนา ซึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สองในปัจจุบันได้มุ่งเน้นในมิติของการพัฒนา 4 มิติสำคัญ  ได้แก่   1.การปฏิรูปนักเรียนยุคใหม่    2. การปฏิรูปครูยุคใหม่    3.การปฏิรูปโรงเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่     4.การปฏิรูประบบบริหารจัดการยุคใหม่
                     ซึ่งในทุกมิตินั้นจะมีความสอดรับสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุผลของการปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่สอง ( พ.ศ. 2552 – 2561 )    สำหรับการปฏิรูปเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่นั้น ได้มีข้อเสนอแนะในเชิงยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษาหลากหลายแนวทางตามข้อเสนอของคณะกรรมการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการที่ได้เสนอแนะไว้ทั้งนี้เพื่อสร้างให้ครูยุคใหม่มีบทบาทในการเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า มีระบบ กระบวนการผลิตและพัฒนาครู   คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง สามารถดึงดูดคนเก่ง คนดี  มีใจรักในวิชาชีพครูมาเป็นครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอตามเกณฑ์และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน และในขณะขณะเดียวกันสามารถพัฒนาตนเอง และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง  มีสภาวิชาชีพที่เข้มแข็ง บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในอาชีพ มีขวัญกำลังใจอยู่ได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาวิชาชีพครูภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมในช่วงเวลานี้นับได้ว่าเป็นบทบาทและภารกิจสำคัญที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการพัฒนา เพื่อก่อให้เกิดศักยภาพและประสิทธิภาพสูงสุดของศาสตร์แห่งวิชาชีพความเป็นครู ทั้งนี้คงสืบเนื่องมาจากสภาพทางบริบทรอบด้านที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโดยเฉพาะในด้านการจัดการศึกษาของยุคปฏิรูปในทศวรรษที่สองนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งมีดัชนีบ่งชี้ ( Indicators ) หลายประการที่บ่งบอกและสะท้อนผลให้ทราบทั้งที่เป็นภาพในเชิงบวกบวกและลบควบคู่กันไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลลัพธ์ ( Output )ที่เกิดกับผลผลิตของกระบวนการจัดการศึกษาซึ่งก็หมายถึงผู้เรียนนั่นเองที่เป็นสิ่งบ่งบอกหรือเป็นสัญญาณของการสะท้อนภาพดังกล่าวออกมาสู่สังคมจากกระแสของการปฏิรูปการศึกษาของไทยในปัจจุบัน ผลที่เกิดขึ้นย่อมเป็นการตอบโจทย์สำคัญที่สังคม โดยรวมต่างมุ่งเป้าหมายกลุ่มใหญ่ไปที่ “ครูอาจารย์” ในด้านประสิทธิภาพและศักยภาพของการจัดการเรียน การสอนให้กับผู้เรียน โดยมิอาจหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธความรับผิดชอบเหล่านี้ได้
ดังนั้นมาตรการและแนวทางของการยกระดับการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของวิชาชีพแห่งความเป็นครูจึงถูกกำหนดขึ้นในหลากหลายกลยุทธ์เพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดสมรรถนะเชิงวิชาชีพในระดับต่างๆจะเป็นประเด็นสำคัญของการสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาศาสตร์แห่งความเป็นครูให้บรรลุผล สอดรับกับสถานการณ์และบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ก้าวไปในสังคมแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีบทความนี้ผู้เขียนขอน าเสนอการพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพแห่งความเป็นครู ซึ่งเป็นข้อเสนอและแนวทางในอีกรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างมโนทัศน์พื้นฐาน ( Fundamental Concepts ) ต่อการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้บรรลุผลความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปครูยุคใหม่ภายใต้กระแสทรรศน์ของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองนี้
สมรรถนะวิชาชีพครู : ความหมายและความสำคัญ
ในกระแสของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่ไหลบ่าข้ามพรมแดนมาถึงกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้รูปแบบการเรียนรู้และวิธีแสวงหาความรู้มีการปรับเปลี่ยนไปจากระบบการศึกษาในรูปแบบดั้งเดิมที่มีครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนฝ่ายเดียว ไปสู่รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองที่นักเรียนสามารถแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งท้าทายครูยุคใหม่ในการจัดองค์ความรู้ให้บังเกิดผลต่อการพัฒนาผู้เรียน ดังนั้นครูจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานหรือกิจกรรมวิชาชีพครูได้อย่างมี ประสิทธิภาพตามความคาดหวังขององค์การทั้งระดับโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการ มีการให้นิยามความหมายของคำว่า “สมรรถนะ ( Competency )” ไว้ว่า หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากความรู้ ( Knowledge ) ทักษะ ( Skill ) ความสามารถ ( Ability ) และคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Other Characteristics ) ที่ทำให้บุคคลปฏิบัติงานได้สำเร็จและบรรลุผลสัมฤทธิ์ขององค์การ หรืออาจกล่าวสรุปได้ว่า
สมรรถนะ หมายถึงบุคลิกลักษณะที่ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด และสามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบได้ดีกว่าผู้อื่น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สมรรถนะหมายถึง พฤติกรรมการปฏิบัติงานซึ่งเป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถและพฤติกรรมอื่นๆที่ทำให้สามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานในองค์กร ดังนั้นสมรรถนะครูจึงหมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะของครูที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพครูให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ สมรรถนะครูจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานวิชาชีพครูให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการขององค์การทางการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษาในสภาพการณ์ทางการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมาพบว่าการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูยังเป็นสิ่งที่ต้องมีการพัฒนาค่อนข้างมาก กล่าวกันว่าการพัฒนาครูนั้นนอกจากจะพิจารณาบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงแล้วจะต้องมีการพัฒนาสมรรถนะครูด้วย สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ครูจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น แต่การพัฒนาครูที่ผ่านมาประเทศไทยยังประสบปัญหาในด้านการพัฒนาครูบางประการจากผลการศึกษาวิจัยที่ยืนยันว่าการพัฒนาครูยังขาดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพเพราะงบประมาณจำกัด ไม่ตรงกับความต้องการของครู และขาดการติดตามประเมินผลการพัฒนา และยังพบว่าการพัฒนาครูในปัจจุบันยังไม่มีเอกภาพด้านนโยบายและมาตรฐานที่ชัดเจน แม้ว่าหน่วยงานต่างๆจะจัดโครงการพัฒนาครูเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังซ้ำซ้อน ไม่เป็นระบบ ขาดประสิทธิภาพและขาดความต่อเนื่อง พบว่าส่วนใหญ่หน่วยงานกลางเป็นผู้จัด วิธีการส่วนใหญ่ใช้การอบรม บรรยาย ประชุมกลุ่มย่อยและสรุปความคิดเห็นต่อที่ประชุมใหญ่ อีกทั้งมีผู้เข้าประชุมค่อนข้างมาก และที่สำคัญคือครูต้องละทิ้งการสอนเข้ามารับการอบรมจึงค่าใช้จ่ายสูงและไม่สามารถติดตามผลการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่เห็นผลการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาของโรงเรียนได้ตรงประเด็นดังนั้นเพื่อเป็นการแสวงหามาตรการและแนวทางใหม่ในการพัฒนาครูที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับยุคสมัยของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะทำให้ครูสามารถนำผู้เรียนไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ นำโรงเรียนไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม แสวงหาแนวทางใหม่ในการพัฒนาครูที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับงบประมาณการลงทุนเพื่อมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาโดยต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาครูเป็นประการสำคัญ จากการกำหนดเป็นสมรรถนะเชิงวิชาชีพเป็นฐานการพัฒนา ( Competency-Based )
สมรรถนะวิชาชีพครูไทย : การพัฒนาสู่สังคมยุคใหม่
           การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของครูภายใต้สังคมแห่งยุคโลกาภิวัตน์หรือ The Globalization นั้นได้มีการศึกษาวิจัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูในหลายหน่วยงาน ในที่นี้ขอน าเสนอบทสรุปการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้พัฒนาสมรรถนะและตัวบ่งชี้ของครูไทย โดยแบ่งออกเป็นสมรรถนะหลัก ( Core Competency ) ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ และสมรรถนะประจำสายงาน (
Functional Competency ) ประกอบด้วย 6 สมรรถนะ ดังนี้
สมรรถนะหลัก ( Core Competency ) ได้แก่
1). การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
2). การบริการที่ดี
3). การพัฒนาตนเอง
4). การท างานเป็นทีม
5). จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
สมรรถนะที่ 1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ( Working Achievement Motivation )หมายถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยมีการวางแผน กำหนดเป้าหมาย ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพและผลงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. ความสามารถในการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย การวิเคราะห์สังเคราะห์
ภารกิจงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
ตัวบ่งชี้ที่ 3. ความสามารถในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 4. ความสามารถในการพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
สมรรถนะที่ 2. การบริการที่ดี ( Service Mind ) หมายถึงความตั้งใจและความเต็มใจในการ
ให้บริการ และการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของ
ผู้รับบริการ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. ความตั้งใจและเต็มใจในการให้บริการ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ
สมรรถนะที่ 3. การพัฒนาตนเอง ( Self Development ) หมายถึงการศึกษาค้นคว้าหาความรู้
ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆทางวิชาการและวิชาชีพ มีการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม
เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ติดตามองค์ความรู้ใหม่ๆทางวิชาการและวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่าย
สมรรถนะที่ 4. การท างานเป็นทีม ( Team Work ) หมายถึงการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ
สนับสนุน เสริมแรงให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นหรือทีมงาน แสดงบทบาทของการเป็น
ผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสมในการท างานร่วมกับผู้อื่น เพื่อสร้างและดำรงสัมพันธภาพของสมาชิกตลอดจน
เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การให้ความร่วมมือช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การเสริมแรงให้กำลังใจเพื่อร่วมงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่หลากหลาย
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตาม
ตัวบ่งชี้ที่ 5. การเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จ
ตามเป้าหมาย
สมรรถนะที่ 5. จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ( Teacher’s Ethics and Integrity )
หมายถึงการประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู เป็นแบบอย่างทีดี
แก่ผู้เรียนและสังคม เพื่อสร้างความศรัทธาในวิชาชีพครู ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. มีวินัยและความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การดำรงชีวิตที่เหมาะสม
สมรรถนะประจำสายงาน ( Functional Competency ) ประกอบด้วย 6 สมรรถนะคือ
1). การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
2). การพัฒนาผู้เรียน
3). การบริหารจัดการชั้นเรียน
4). การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
5). ภาวะผู้นำครู
6). การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน
สมรรถนะที่ 1. การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ( Curriculum and Learning Management ) หมายถึงความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการเรียนรู้อย่างสอดคล้องและเป็นระบบ จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การสร้างและพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตร
แกนกลางและท้องถิ่น
ตัวบ่งชี้ที่ 2. ความรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 5. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สมรรถนะที่ 2. การพัฒนาผู้เรียน ( Student Development ) หมายถึงความสามารถในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิต ความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทย การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การพัฒนาทักษะชีวิตและสุขภาพกาย สุขภาพจิตผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทยให้แก่ผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
สมรรถนะที่ 3. การบริหารจัดการชั้นเรียน ( Classroom Management ) หมายถึง การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา การกำกับดูแลชั้นเรียน/รายวิชา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุข และความปลอดภัยของผู้เรียน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ความสุขและความปลอดภัยของผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 2. จัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา
ตัวบ่งชี้ที่ 3. กำกับดูแลชั้นเรียนรายชั้น / รายวิชา
สมรรถนะที่ 4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ( Analysis & Synthesis & Classroom Research ) หมายถึง ความสามารถในการทำความเข้าใจ แยกประเด็นเป็นส่วนย่อย รวบรวม ประมวลหาข้อสรุปอย่างเป็นระบบและนำไปใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งสามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานในภาพรวมและดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนางานอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การวิเคราะห์รายการพฤติกรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสังเคราะห์รายการพฤติกรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
สมรรถนะที่ 5. ภาวะผู้นำครู ( Teacher Leadership ) หมายถึงคุณลักษณะและพฤติกรรมของครูที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ส่วนบุคคล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนโดยปราศจากการใช้อิทธิพลของผู้บริหารสถานศึกษา ก่อให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. วุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครู ( Adult Development )
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสนทนาอย่างสร้างสรรค์ ( Dialogue )
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การเป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง ( Change Agency )
ตัวบ่งชี้ที่ 4. การปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง ( Reflective Practice )
ตัวบ่งชี้ที่ 5. การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ( Concern for Improving Pupil Achievement )
สมรรถนะที่ 6. การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ ( Relationship & Collaborative-Building for Learning Management ) หมายถึง การประสานความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างเครือข่ายกับผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กรอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ดังนี้
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อจัดการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้
กล่าวโดยรวมว่าสมรรถนะหลัก ( Core Competency ) 5 สมรรถนะ และสมรรถนะประจำสายงาน ( Functional Competency ) 6 สมรรถนะที่กล่าวมานั้น เป็นปัจจัยสำคัญของการนำไปกำหนดเป็นกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพวิชาชีพครูที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบท ( Context ) และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน เป็นไปตามเป้าหมายในการพัฒนาครูยุคใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองที่ได้กำหนดไว้เป็นวาระสำคัญในวงการศึกษาไทยแนวคิดในการสร้างสมรรถนะเชิงวิชาชีพของครูไทยยุคใหม่นั้น ขอน าเสนอตัวแบบแนวคิดของภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้าง Competency ดังกล่าว ทั้งนี้โดยองค์กรมีการกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ ( Vision ) และภารกิจ ( Mission ) ขององค์กรเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน ( Strategies )ที่จะนำไปสู่การสร้างคุณค่า ( Value ) และวัฒนธรรมองค์กร( Culture )ให้บังเกิดขึ้น ภายใต้กระบวนงานตามสมรรถนะหลัก ( Core Competency ) และสมรรถนะประจำสายงาน ( Functional Competency ) ที่กำหนดไว้ตัวแบบ ( Model ) ของการสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูที่มีประสิทธิภาพดังที่กล่าวในเบื้องต้นนั้น อาจสรุปให้เห็นดังภาพต่อไปนี้

การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพมุ่งสู่การปฏิรูปหลักสูตรใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ( พ.ศ. 2552-2561 ) นั้น “หลักสูตร”จะเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาการเรียนรู้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูป 4 ประเด็นหลักของการจัดการศึกษานอกจากจะมุ่งหวังให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในปี 2561 แล้ว ยังมีประเด็นสำคัญอีกหลายประเด็นที่จะเป็นตัวแปรสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของคนในชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสังคมให้มีความพร้อมต่อการก้าวสู่ความเป็นสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือที่เรียกว่า ASEAN Community ปัจจัยสำคัญหนึ่งของการสร้างความพร้อมให้กับทรัพยากรบุคคลก็คือการให้การศึกษาที่มีคุณภาพภายใต้การใช้หลักสูตร ( Curriculum ) ในการจัดการเรียนรู้นั่นเอง ดังนั้นหลักสูตรจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งที่จะสร้างทรัพยากรบุคคลให้ก้าวไปในเวทีโลกและในสังคม ASEAN ได้อย่างเหมาะสมและมีศักดิ์ศรีในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( Basic Education Curriculum ) ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก็เช่นเดียวกัน ได้มีกระแสการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ซึ่งก็มีกระแสการวิพากษ์วิจารณ์กรณีการปรับแก้รื้อถอนเพื่อสร้างหลักสูตรขั้นพื้นฐานขึ้นมาใหม่จากหลากหลายทรรศนะมุมมองที่แตกต่างกันไป

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้



           Learning log
In Class : 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
            ในคาบเรียนของวันนี้อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้อธิบายเกี่ยวกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  ๒๕๕๑โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วิสัยทัศน์
            หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้
          1.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
          2.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
           3.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
           4.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด           การเรียนรู้
           5.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
           6.เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                        สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ              ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
2.  ซื่อสัตย์สุจริต
3.  มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6.  มุ่งมั่นในการทำงาน
7.  รักความเป็นไทย
8.  มีจิตสาธารณะ
Out Class : 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
             สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
             1. ความสามารถในการสื่อสาร คือความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อัน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับ ICT Literacy
              2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ Learning Thinking Skills
               3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Life skill
                4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น สอดคล้องกับ Life skill
                5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สอดคล้องกับ ICT Literacy
              

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้


บันทึกการเรียนรู้ในชั้นเรียน


            ในคาบเรียนวันที่ 11 กรกฎาคม พ.. 2556  อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้อธิบายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับการเลือกและจัดสาระการเรียนรู้ในการจัดทำหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดเลือกเนื้อหาสาระและเรียงลำดับเนื้อหา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                การเลือกและจัดสาระการเรียนรู้
            คำถาม
1. เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายผู้เรียนควรได้เรียนรู้อะไรบ้าง ?
2. จะจัดลำดับความรู้เหล่านั้นอย่างไรบ้าง จึงจะเกิดผลและการเรียนสูงสุด  ?
            ตัวอย่างที่
1 เนื้อหาสาระที่ตอบสนองจุดมุ่งหมายของการมีสุขภาพปากและฟันที่ดี
1) ความสำคัญของฟัน
2) ประเภทของฟัน
3) ชนิดของฟัน
4) โครงสร้างของฟัน
5) พัฒนาการของฟัน
6) หน้าที่ของฟัน
7) การดูและรักษาฟัน
8) การเลือกผลิตภัณฑ์มาดูแลรักษาฟัน
9) โรคเหงือกและฟัน
10) วิธีป้องกันโรคเหงือกและฟัน
           

 

ตัวอย่างที่ 2 เนื้อหาสาระที่ตอบสนองจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน100
1) ความหมายของการลบ
2) สัญลักษณ์เครื่องหมายลบ
3) ตัวตั้ง ตัวลบ
4) การเขียนประโยคสัญลักษณ์
5) การลบที่มีการกระจายและการลบที่ไม่มีการกระจาย
6) การวิเคราะห์โจทย์การลบ
7) วิธีการตรวจคำตอบ
            ตัวอย่างที่ 3 เนื้อหาสาระของโรคติดต่อ
1) ชนิดของโรคติดต่อ
2) ลักษณะของโรคติดต่อ
3) สาเหตุของโรค
4) อาการของโรค
5) การติดต่อของโรค
6) โรคแทรกซ้อน
7) ความรุนแรงของโรค
8) การรักษาและการป้องกันโรค
            การนำหลักสูตรไปใช้
1) กิจกรรมการเรียนการสอน
2) การบริหารหลักสูตร

 

 

                          บันทึกการเรียนรู้นอกชั้นเรียน
             ในวันที่
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 นักศึกษาได้ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  ๒๕๕๑ โดยเนื้อหาสาระมีดังนี้
                     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ
.. ๒๕๔๒
            หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย  ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่อง ต่อไปนี้
            (1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง  และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัวชุมชน ชาติ และสังคมโลก  รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
            (2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ  การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
            (3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
            (4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง      (5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
            (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
            (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
            (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
            (4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
            (5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย

เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
            (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน  พิพิธภัณฑ์  หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ  สวนพฤกษศาสตร์  อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียน  การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ  ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
            ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
            สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม
            สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย  เพื่อ

พัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เอกชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน  โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จัดเลือกสรรภูมิปัญหาและความต้องการรวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา         
           

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  ๒๕๕๑
วิสัยทัศน์
            หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการ
            หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้
๑.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้                   เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน              ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
๒.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ

๓.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา                      ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
๔. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด         การเรียนรู้
๕.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๖.  เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 
จุดหมาย
           
 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน   มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ   จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน  เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ดังนี้
๑.  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา   การใช้เทคโนโลยี  และมีทักษะชีวิต
๓.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
๔.  มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ          การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๕.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย   การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
           
ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ดังนี้
            สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
           
๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
           
๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
           
๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ              ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
           
๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
           
๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม


 

บันทึกการเรียนรู้


บันทึกการเรียนรู้ในชั้นเรียน


            ในคาบเรียนวันที่ 11 กรกฎาคม พ.. 2556  อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้อธิบายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับการเลือกและจัดสาระการเรียนรู้ในการจัดทำหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดเลือกเนื้อหาสาระและเรียงลำดับเนื้อหา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                การเลือกและจัดสาระการเรียนรู้
            คำถาม
1. เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายผู้เรียนควรได้เรียนรู้อะไรบ้าง ?
2. จะจัดลำดับความรู้เหล่านั้นอย่างไรบ้าง จึงจะเกิดผลและการเรียนสูงสุด  ?
            ตัวอย่างที่
1 เนื้อหาสาระที่ตอบสนองจุดมุ่งหมายของการมีสุขภาพปากและฟันที่ดี
1) ความสำคัญของฟัน
2) ประเภทของฟัน
3) ชนิดของฟัน
4) โครงสร้างของฟัน
5) พัฒนาการของฟัน
6) หน้าที่ของฟัน
7) การดูและรักษาฟัน
8) การเลือกผลิตภัณฑ์มาดูแลรักษาฟัน
9) โรคเหงือกและฟัน
10) วิธีป้องกันโรคเหงือกและฟัน
           

 

ตัวอย่างที่ 2 เนื้อหาสาระที่ตอบสนองจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน100
1) ความหมายของการลบ
2) สัญลักษณ์เครื่องหมายลบ
3) ตัวตั้ง ตัวลบ
4) การเขียนประโยคสัญลักษณ์
5) การลบที่มีการกระจายและการลบที่ไม่มีการกระจาย
6) การวิเคราะห์โจทย์การลบ
7) วิธีการตรวจคำตอบ
            ตัวอย่างที่ 3 เนื้อหาสาระของโรคติดต่อ
1) ชนิดของโรคติดต่อ
2) ลักษณะของโรคติดต่อ
3) สาเหตุของโรค
4) อาการของโรค
5) การติดต่อของโรค
6) โรคแทรกซ้อน
7) ความรุนแรงของโรค
8) การรักษาและการป้องกันโรค
            การนำหลักสูตรไปใช้
1) กิจกรรมการเรียนการสอน
2) การบริหารหลักสูตร

 

 

                          บันทึกการเรียนรู้นอกชั้นเรียน
             ในวันที่
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 นักศึกษาได้ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  ๒๕๕๑ โดยเนื้อหาสาระมีดังนี้
                     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ
.. ๒๕๔๒
            หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย  ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่อง ต่อไปนี้
            (1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง  และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัวชุมชน ชาติ และสังคมโลก  รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
            (2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ  การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
            (3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
            (4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง      (5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
            (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
            (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
            (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
            (4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
            (5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย

เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
            (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน  พิพิธภัณฑ์  หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ  สวนพฤกษศาสตร์  อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียน  การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ  ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
            ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
            สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม
            สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย  เพื่อ

พัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เอกชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน  โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จัดเลือกสรรภูมิปัญหาและความต้องการรวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา         
           

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  ๒๕๕๑
วิสัยทัศน์
            หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการ
            หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้
๑.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้                   เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน              ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
๒.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ

๓.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา                      ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
๔. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด         การเรียนรู้
๕.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๖.  เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 
จุดหมาย
           
 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน   มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ   จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน  เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ดังนี้
๑.  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา   การใช้เทคโนโลยี  และมีทักษะชีวิต
๓.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
๔.  มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ          การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๕.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย   การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
           
ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ดังนี้
            สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
           
๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
           
๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
           
๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ              ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
           
๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
           
๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม